สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 พฤศจิกายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ๋ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ 
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,804 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,159 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,242 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,204 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 29,170 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.5179 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 425-430 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564) ขณะที่
วงการค้าระบุว่า ราคาข้าวมีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ระดับนี้หรืออาจจะขยับขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่จะถึง เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี
มีรายงานว่า ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามกลับมาอยู่ที่จุดสูงสุดในตลาดโลกอีกครั้ง และสูงกว่าราคาข้าวของไทย และอินเดีย ประมาณตันละ 20-50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม ข้าวขาว 5% ของเวียดนาม ราคาตันละ 425-430 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 โดยราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าของอินเดียประมาณตันละ 48-51 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาข้าวของไทยต่ำกว่าของเวียดนามประมาณตันละ 18-23 ดอลลาร์สหรัฐฯ
 
ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน 2565 ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงอยู่ในระดับสูง และสูงกว่าราคาข้าวของประเทศอื่นๆ ซึ่งช่วยดันราคาข้าวในประเทศให้สูงขึ้น โดยเมื่อวันที่13 พฤศจิกายน 2565 ข้าวเปลือกพันธุ์ Dai Thom 8 ราคา 6,700-6,800 ดองเวียดนามต่อกิโลกรัม ขณะที่ข้าวเปลือกพันธุ์ OM5451 ราคา 6,500-6,650 ดองเวียดนามต่อกิโลกรัม
สมาคมอาหารเวียดนาม (The Vietnam Food Association) ระบุว่า ราคาข้าวส่งออกที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับปริมาณข้าวของเวียดนามมีจํากัดหลังจากอินเดียจํากัดการส่งออกข้าว ทำให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศหลายรายหันไปหาผู้ขายข้าวรายอื่น ทำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามมีโอกาสในการทำตลาดมากขึ้น และช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าว ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่าตันละ 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากอินเดียประกาศจํากัดการส่งออกข้าว
เมื่อเดือนตุลาคม 2565 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้ 713,540 ตัน มูลค่ากว่า 341 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และร้อยละ 24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน และการส่งออกข้าว
ในเดือนตุลาคม 2565 ถือเป็นสถิติส่งออกข้าวต่อเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วง10 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-ตุลาคม 2565) เวียดนามส่งออกข้าวได้ถึง 6.1 ล้านตัน มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยฟิลิปปินส์เป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 45 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม และจีนเป็นอันดับสอง คิดเป็นร้อยละ 13 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินโดนีเซีย
          สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา รายงานว่า ประธานสมาคมผู้ค้าขายในตลาดอินโดนีเซีย (Ikappi) Abdullah Mansuri กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวคุณภาพดีปรับสูงขึ้นเฉลี่ยที่ 13,900 รูเปียต่อกิโลกรัม ขณะที่ข้าวคุณภาพปานกลางไม่มีการปรับราคา
ข้าวคุณภาพดี เช่นข้าว SentraI ปัจจุบันราคาเฉลี่ย 13,900 รูเปียต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 12,000 รูเปียต่อกิโลกรัม จากก่อนหน้านี้ ขณะที่ข้าว IR 42 Pera ปรับราคาขึ้นเป็น 13,900 รูเปียต่อกิโลกรัม
โดย Mansuri กล่าวว่า ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นนั้น ยังไม่สูงมากนักแต่หากราคาค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก็จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยคาดว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ เพราะช่วงนั้นปริมาณข้าวในคลังสํารองเหลือน้อย เนื่องจากยังไม่ถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว และหาก Perum Bulog ไม่สามารถแทรกแซงราคา เนื่องจากปริมาณข้าวที่จะส่งออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง จะทำให้ราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด
จากการอ้างอิงเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ Hargapangan.id ราคาข้าวคุณภาพเยี่ยมในปัจจุบัน ราคา 13,500 รูเปียต่อกิโลกรัม ข้าวคุณภาพเยี่ยม ชั้น 2 ราคา 13,150 รูเปียต่อกิโลกรัม ข้าวคุณภาพปานกลาง ราคา 12,200 รูเปียต่อกิโลกรัม ข้าวคุณภาพปานกลาง ชั้น 2 ราคา 12,000 รูเปียต่อกิโลกรัม ข้าวคุณภาพตํ่า ราคา 11,100 รูเปียต่อกิโลกรัม และข้าวคุณภาพตํ่ากว่าชั้น 2 ราคา 10,750 รูเปียต่อกิโลกรัม
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้รัฐบาลสามารถบริหารข้าวในสต็อกของรัฐบาลและราคาในประเทศได้ดี
ปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการบริโภคข้าวสูงขึ้นตาม อีกทั้งราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ยากําจัดศัตรูพืช และราคาน้ำมันสำหรับการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ราคาข้าวของอินโดนีเซียปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาข้าวคุณภาพดีปรับสูงขึ้นเฉลี่ยที่ 13,900 รูเปียต่อกิโลกรัม จากเดิม 12,000 รูเปียต่อกิโลกรัม จึงคาดว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณข้าว
ในคลังสํารองเหลือน้อย เนื่องจากยังไม่ถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว
ทั้งนี้ หากปริมาณข้าวในคลังสํารองของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งดูแลโดย Bulog มีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาระดับราคาในตลาดได้ อาจมีการนําเข้าข้าวจากต่างประเทศเพื่อรักษาสมดุลราคาข้าวภายในประเทศต่อไป
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรงตัวในระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากผู้ซื้อต่างประเทศที่ลดลง ในขณะที่ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้น โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 370-375 ดอลลาร์สหรัฐฯเท่ากับเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
ผู้ส่งออกในเมือง Kakinada ในรัฐ Andhra Pradesh ทางตอนใต้กล่าวว่า ความต้องการข้าวจากผู้ซื้อในแถบแอฟริกาอ่อนตัวลง ขณะที่ตลาดยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับฝนที่ตกหนักในอินเดียในช่วงก่อนหน้านี้ อาจทำให้ข้าวเสียหายก่อนเก็บเกี่ยวในรัฐที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ เช่น Uttar Pradesh, West Bengal, และ Andhra Pradesh กระทรวงพาณิชย์ (the Commerce Ministry) แถลงว่า การส่งออกข้าวในช่วง 6 เดือนแรก (เมษายน-กันยายน 2565) ของปีงบประมาณ 2565/66 (เมษายน 2565-มีนาคม 2566) มีมูลค่าประมาณ 5.487 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยข้าวบาสมาติ มีมูลค่าส่งออกประมาณ 2.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ มีมูลค่าส่งออกประมาณ 3.207 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรฯ (the Ministry of Agriculture and Farmers’ Welfare (MOAFW) รายงานว่า ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวฤดูการผลิตรอง หรือ Rabi crop แล้วประมาณ 4.437 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับจำนวน 3.75 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ฤดูการผลิตรอง หรือ Rabi crop ของอินเดีย จะเริ่มหว่านเมล็ดช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี
กระทรวงกิจการผู้บริโภค อาหาร และการจัดสรรสาธารณะ (The Ministry of Consumer Affairs, Food and Public Distribution) แถลงว่า ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 รัฐบาลสามารถจัดหาข้าวตามโครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2565/66 (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ได้ประมาณ 23.1 ล้านตัน โดยมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้แล้วประมาณ 1.35 ล้านราย ซึ่งได้รับเงินแล้วประมาณ 5.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยกระทรวงกิจการผู้บริโภคฯ แถลงว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2565/66  (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566)
คาดว่าจะสามารถจัดหาข้าวจากฤดูการผลิต Kharif Crop ได้ประมาณ 51.8 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งมากกว่าจำนวน 50.982 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ หลังจากที่ได้มีการประชุมหารือร่วมกับฝ่ายเลขาธิการอาหารของรัฐ (the State Food Secretaries) และองค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) กระทรวงกิจการผู้บริโภคฯ ได้ตั้งเป้าจัดหาข้าวในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2565/66 (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) ที่ปริมาณ 51.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายในการจัดหาของปี 2564/65 ที่ปริมาณ 50.982 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565/66 หน่วยงานต่างๆ มีแนวโน้มที่จะจัดหาข้าวเปลือก จำนวน 77.1 ล้านตัน (ประมาณ 51.8 ล้านตันข้าวสาร) ซึ่งมากกว่าโครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2564/65 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) ที่องค์การอาหารแห่งชาติ (FCI) และหน่วยงานรัฐบาลสามารถจัดหาข้าวเปลือกได้ประมาณ 75.9 ล้านตัน (ประมาณ 51 ล้านตันข้าวสาร)
โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2564/65
(1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2565 รัฐบาลสามารถจัดหาข้าวเปลือกได้ประมาณ 88.13 ล้านตัน ประกอบด้วย ข้าวเปลือกจากฤดูการผลิต Kharif จำนวน 75.93 ล้านตัน และจากฤดูการผลิต Rabi จำนวน 12.198 ล้านตัน โดยมีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ประมาณ 13.065 ล้านราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 21.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นราคาเฉลี่ยของข้าวที่รัฐบาลรับซื้อประมาณ 265 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน) ส่วนโครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64 (1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) รัฐบาลสามารถจัดหาข้าวเปลือกได้ประมาณ 89.24 ล้านตัน ประกอบด้วยข้าวจากฤดูการผลิต Kharif จำนวน 71.81 ล้านตัน และจากฤดูการผลิต Rabi จำนวน 17.615 ล้านตัน
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) ระบุว่า รัฐบาลอินเดียปรับเพิ่มราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับปีการตลาด 2565/66 (ระหว่างวันที่ 1ตุลาคม 2565-31 กันยายน 2566) โดยคณะกรรมการของคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (The Cabinet Committee on Economic Affairs (CCEA)) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการอนุมัติให้เพิ่มราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ (MSP) สำหรับพืชผลในฤดูการผลิต Kharif Crops ซึ่งรวมถึงข้าวเปลือกด้วย โดยรัฐบาลปรับเพิ่มราคาอุดหนุนขั้นต่ำสำหรับข้าวเปลือกเกรดทั่วไป (common-grade paddy) ในปีการตลาด 2565/66 ขึ้นอีกประมาณร้อยละ 5.2 เป็น 2,040 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 262 ดอลลาร์สหรัฐฯ) จากเดิม (ปีการตลาด 2564/65) ที่ 1,940 รูปีต่อ100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 249 ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยข้าวเปลือกเกรด A (Grade A paddy) ได้ปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.1 เป็น 2,060 รูปีต่อ100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 265 ดอลลาร์สหรัฐฯ) จากเดิมที่ 1,960 รูปีต่อ100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 252 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มีประมาณ 34.26 ล้านตัน (รวมข้าวสารที่คํานวณมาจากสต็อกข้าวเปลือกประมาณ 26.37 ล้านตัน) ลดลงประมาณ
ร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับจำนวน 39.99 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20.68
เมื่อเทียบกับจำนวน 28.39 ล้านตัน ในเดือนตุลาคม 2565 ทั้งนี้ ปริมาณข้าวของอินเดียอยู่เหนือเกณฑ์ปกติ (buffer norms) ที่ 10.25 ล้านตัน (รวมถึงสต็อกปฏิบัติการ (operational stock) 8.25 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธศาสตร์ (strategic reserve) 2 ล้านตัน) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565)
ขณะที่สต็อกธัญพืช (ข้าวข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ) โดยรวมของอินเดีย ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มีจำนวน 55.57 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับจำนวน 82.112 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับจำนวน 51.399 ล้านตัน ในเดือนตุลาคม 2565 โดยสต็อกธัญพืชของอินเดียอยู่เหนือเกณฑ์ปกติ (the required buffer norms) ที่ 30.77 ล้านตัน (รวมสต็อกสำหรับการบริหารจัดการ 25.77 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธ์ศาสตร์ (strategic reserve) จำนวน 5 ล้านตัน) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565)
ส่วนสต็อกข้าวสาลี มีประมาณ 21.046 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับจำนวน 41.981 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 22.746 ล้านตัน ในเดือนตุลาคม 2565 ทั้งนี้ สต็อกข้าวสาลีอยู่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ (the required buffer norms) ที่ 20.52 ล้านตัน (รวมสต็อกสำหรับการบริหารจัดการ (operational stock) จำนวน 17.52 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธ์ศาสตร์ (strategic reserve) จำนวน 3 ล้านตัน) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.29 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 349.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,396.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 337.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,332.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.56 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 64.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,175.30 ล้านตัน ลดลงจาก 1,202.59 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 2.27 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และรัสเซีย มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 183.48 ล้านตัน ลดลงจาก 193.01 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 4.94 โดย บราซิล อาร์เจนตินา และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อิหร่าน แอลจีเรีย เปรู มาเลเซีย โมร็อกโก ไทย สาธารณารัฐโดมิกัน
และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 665.00 เซนต์ (9,407.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 664.00 เซนต์ (9,685.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 278.00 บาท




 


มันสำปะหลัง

 


ปาล์มน้ำมัน
 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,434.64 เซนต์ (18.95 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,445.88 เซนต์ (19.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.65 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 413.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 74.44 เซนต์ (58.97 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 75.99 เซนต์ (62.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.04


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
        ราคาที่เกษตรกรขายได้
        ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
        ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
        ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 86.93 เซนต์(กิโลกรัมละ 68.88 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 87.25 เซนต์ (กิโลกรัมละ 71.29 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.41 บาท)

 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,841 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,788 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,369 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,363 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,019 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  104.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.73 คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.52 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 108.95 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.23 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.19 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.74 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 348 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 393 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 391 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 402 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 367 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.22 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.98 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.60 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤษจิกายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.04 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 58.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.44 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.27 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 81.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.34 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.36 บาท บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.64 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา